วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ  
ตำแหน่งของผู้เล่นในทีม
กระบวนการเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลก็คือ การพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นแต่ละตำแหน่งเข้าร่วมทีม เราควรจะต้องรู้ความสามารถของนักกีฬา ลักษณะทางกายภาพ ความสามารถพิเศษของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไร และแต่ละทีมควรจะมีผู้เล่นลักษณะใดบ้างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามแนวทางที่เราต้องการ
คุณสมบัติของผู้เล่นลักษณะต่าง ๆ
ผู้เล่นตบบอลหลัก – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลได้ดี มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง ความสามารถในการตบบอลของตัวตบบอลหลักสำหรับนักกีฬาชายควรประสบความสำเร็จในการตบบอลไม่น้อยกว่า 50 ส่วนนักกีฬาหญิงควรไม่น้อยกว่า 40 %
ผู้เล่นตบบอลเร็ว – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลเร็วได้หลากหลาย เช่น บอลเร็วหน้า/หลัง ห่างตัวเซต หรือการเขย่งตบ และต้องมีการประสานงานกับผู้เล่นตัวเซตได้ดี
ผู้เล่นตัวเซต – ทำหน้าที่เซตบอลให้ตัวตบในลักษณะต่างๆ มีความสามารถในการเซต ควบคุมจังหวะ ทิศทางลูกบอลได้ดี โดยเฉพาะการเซตให้ผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว ผู้เล่นตัวเซตถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม
ผู้เล่นอเนกประสงค์ – เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถทุกทักษะเช่น การเซต การสกัดกั้น การตบ การเสริฟ และการรับลูกเสริฟ
Combined Attacker (ผู้เล่นตบบอล หรือผู้เล่นที่ตำแหน่งตรงข้ามตัวเซต) – ผู้เล่นตำแหน่งนี้ที่มักเรียกกันว่าตัวตบบอล จะมีความสามารถในการรุกแบบผสม รุกจากหัวเสาด้านหลัง และรุกจากแดนหลัง ถ้าเป็นผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบ เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อทีม
ผู้เล่นตัวรับ – แต่ละทีมนอกจากมีผู้เล่นตัวรับอิสระแล้ว อาจจะต้องมีผู้เล่นที่มีทักษะการรับที่ดีไว้ช่วยการรับของทีม
ตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
การวางตำแหน่งผู้เล่นในสนาม 6 คนแรกขึ้นอยู่กับระบบการเล่นที่เราจะเลือกใช้สำหรับทีม ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าจะใช้ระบบการเล่นใดที่จะเหมาะสมกับทีมเราที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)                           
1. ทำความรู้จักระบบการเล่น 1 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/03/entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1     
การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ                                         
เมื่อทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเองเพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหน้า – ผู้เล่นตัวกลางหน้ายืนชิดตาข่ายเพื่อเตรียมสกัดกั้นบอลเร็ว ผู้เล่นตัวริมซ้ายและขวายืนห่างตาข่ายเล็กน้อยเพื่อเตรียมสกัดกั้นหรือถอยออกมารับลูกตบ
ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับลูกหยอดหรือลูกตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ตรงกลางห่างจากท้ายสนามประมาณ 1-2 เมตร

รูปแบบที่ 2


ผู้เล่นแดนหน้า – ตำแหน่งการยืนเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1

ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับบอลหยอดหรือบอลเร็ว
การรับลูกเสริฟ

การรับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกของทีม หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการรุกทำคะแนนของทีมจะลดน้อยลงทันที

หลักการของการรับลูกเสริฟ – เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย ซึ่งในสถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้นอยู่กับแผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ 3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)
ตำแหน่งการยืนรับลูกเสริฟจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะการเสริฟของผู้เสริฟว่าเป็นอย่างไร หนัก เบา สั้นหรือยาว (ภาพประกอบ)





ทิศทางการเคลื่อนที่ในการรับลูกเสริฟ – การเคลื่อนที่รับลูกเสริฟ ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งจะเคลื่อนที่ในแนวทแยงมุม 45 องศา




(อ่านเทคนิคการรับลูกเสริฟเพิ่มเติม) 

1. Clip เทคนิคการรับลูกเสริฟแบบต่าง ๆ(1) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/20/entry-1
2. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (2) 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/21/entry-1
3. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (ตอนจบ) 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/22/entry-1

รูปแบบการรับลูกเสริฟ
รูปแบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้
การรับแบบตัวเอ็ม W
การรับแบบตัวเอ็ม M

การรับแบบ Roof
พื้นฐานองค์ประกอบในการเล่นวอลเลย์บอลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญที่เราพบในการแข่งขันเสมอ คือการรุก การรองบอลและการรับ โดยในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการรุกและการรองบอล
การรุก
การรุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
การตบบอลที่เซตมาสูงหรือที่เรามักเรียกกันว่า บอลโค้ง หรือบอลหัวเสา เป็นวิธีการรุกพื้นฐานที่ควรแนะนำสำหรับทีมในระดับเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการตบบอลลักษณะนี้ยังใช้ได้ในทีมทุกระดับ
2. การตบบอลเร็วหัวเสา
บอลลักษณะนี้เรามักเรียกกันว่าบอล Y เป็นบอลที่คล้ายกับบอลโค้งหัวเสาแต่มีความเร็วมากกว่าและเตี้ยกว่าบอลโค้งหัวเสา
3. การตบบอลเร็วแบบต่างๆ
บอลเร็วหน้า (A หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหลัง (
A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หลัง)  กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
(อ่านเพิ่มเติม)
1. กลยุทธ์และเทคนิคของผู้เล่นบอลเร็ว http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/26/entry-1
3. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
4. ความสำคัญของบอลเร็ว 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/02/entry-1
5. แนวคิดของผู้เล่นบอลเร็ว 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/03/entry-1
เทคนิคการรุก
การโจมตีหรือการรุกด้วยสามารถทำได้ด้วยการตบหรือการหยอด ซึ่งมีเทคนิคหลากหลายเพื่อให้คู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ยาก โดยนักกีฬาสามารถฝึกฝนหรือคิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ จะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
การรุกแบบสลับตำแหน่ง
เป็นเทคนิคการรุกที่เส้นทางการรุกของผู้เล่น 2 คนไขว้กัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะตบบอลเร็ว หรือที่เรียกว่าการรุกแบบผสม Combination attack หรือภาษาวอลเลย์บอลเรียกบอลทับหรือบอลแทรก ลักษณะเส้นทางการรุกของผู้เล่นทั้งสองจะเป็นรูปตัว X
การเปลี่ยนทิศทางการเข้าตบบอล
เป็นเทคนิคการรุกส่วนบุคคลของนักกีฬา โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าตบบอลลักษณะหนึ่งแล้วเปลี่ยนทิศทางไปตบบอลอีกลักษณะหนึ่ง (เรียกง่าย ๆ ว่าการวิ่งหลอก) ตัวอย่างเช่น
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้า แต่ไปตบบอล B หลัง (บอลที่สูงเหนือตาข่ายประมาณ 1-2 เมตร)
หรือกระโดดลักษณะตบบริเวณหน้าตัวเซตแต่ลอยตัวไปตบบอลเร็วหลังตัวเซต
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วห่างหน้าตัวเซต (บอล X) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B หน้า (เรียกว่าบอล XB)
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้าตัวเซต (บอล A) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B โค้ง
อ่านเพิ่มเติม
1. รูปแบบแผนการรุก http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/10/24/entry-1
2. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
การหยอด
การหยอดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องหยอดไปยังตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนในเกมรับของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้รับยากหรือหากรับได้แต่นำบอลนั้นกลับมารุกโต้กลับได้ยาก ซึ่งแต่ละจุดที่หยอดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งรับของคู่ต่อสู้
พื้นที่หยอดเมื่อตั้งรับห่างจากเส้นรุก
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 2 เข้ารองบอลด้านใน
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 4 เข้ารองบอลด้านใน
การรองบอล
การรองบอลในขณะที่ทีมเป็นฝ่ายรุกเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยทำให้ทีมสามารถนำบอลที่ตัวรุกตบไม่ผ่านการสกัดกั้นกลับมาเล่นต่อได้ ตำแหน่งของการรองบอลจะขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
1. ทิศทางของแนวสกัดกั้น
2. มุมของการสกัดกั้น
3. เส้นทางการตบบอล
4. ความเร็วของลูกบอล
สังเกตทิศทางการตบบอลกับแนวสกัดกั้น
การสะท้อนกลับของลูกบอลสังเกตจากมุมของการสกัดกั้น
รูปแบบการรองบอล
รูปแบบการรองบอลมี 2 รูปแบบดังนี้
1. การรองบอลแบบ 3:2
2. การรองบอลแบบ 2:3
การรองบอลแบบ 3:2  
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 3 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 2 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกหัวเสาหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
จากภาพ ผู้เล่นหมายเลข 1 2 3 รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นหมายเลข 4 5 รองบอลในแนวหลัง หลังจากที่ตัวรุกตบบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้ ผู้เล่นทั้งหมดต้องเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
การรองบอลแบบ 2:3 
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 2 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 3 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหลัง
ในการรองบอล ผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทางและจังหวะของการสะท้อนกลับของลูกบอล ระวังรักษาตำแหน่งให้พร้อมรองบอลเสมอ

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากๆเลยครับ ทำข้อมูลออกมาชัดเจน เป็นลำดับและเห็นภาพดีมาก้ลยครับ

    ตอบลบ
  2. ดีมากๆเลยครับ ทำข้อมูลออกมาชัดเจน เป็นลำดับและเห็นภาพดีมาก้ลยครับ

    ตอบลบ