วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ  
ตำแหน่งของผู้เล่นในทีม
กระบวนการเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลก็คือ การพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นแต่ละตำแหน่งเข้าร่วมทีม เราควรจะต้องรู้ความสามารถของนักกีฬา ลักษณะทางกายภาพ ความสามารถพิเศษของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไร และแต่ละทีมควรจะมีผู้เล่นลักษณะใดบ้างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามแนวทางที่เราต้องการ
คุณสมบัติของผู้เล่นลักษณะต่าง ๆ
ผู้เล่นตบบอลหลัก – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลได้ดี มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง ความสามารถในการตบบอลของตัวตบบอลหลักสำหรับนักกีฬาชายควรประสบความสำเร็จในการตบบอลไม่น้อยกว่า 50 ส่วนนักกีฬาหญิงควรไม่น้อยกว่า 40 %
ผู้เล่นตบบอลเร็ว – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลเร็วได้หลากหลาย เช่น บอลเร็วหน้า/หลัง ห่างตัวเซต หรือการเขย่งตบ และต้องมีการประสานงานกับผู้เล่นตัวเซตได้ดี
ผู้เล่นตัวเซต – ทำหน้าที่เซตบอลให้ตัวตบในลักษณะต่างๆ มีความสามารถในการเซต ควบคุมจังหวะ ทิศทางลูกบอลได้ดี โดยเฉพาะการเซตให้ผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว ผู้เล่นตัวเซตถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม
ผู้เล่นอเนกประสงค์ – เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถทุกทักษะเช่น การเซต การสกัดกั้น การตบ การเสริฟ และการรับลูกเสริฟ
Combined Attacker (ผู้เล่นตบบอล หรือผู้เล่นที่ตำแหน่งตรงข้ามตัวเซต) – ผู้เล่นตำแหน่งนี้ที่มักเรียกกันว่าตัวตบบอล จะมีความสามารถในการรุกแบบผสม รุกจากหัวเสาด้านหลัง และรุกจากแดนหลัง ถ้าเป็นผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบ เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อทีม
ผู้เล่นตัวรับ – แต่ละทีมนอกจากมีผู้เล่นตัวรับอิสระแล้ว อาจจะต้องมีผู้เล่นที่มีทักษะการรับที่ดีไว้ช่วยการรับของทีม
ตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
การวางตำแหน่งผู้เล่นในสนาม 6 คนแรกขึ้นอยู่กับระบบการเล่นที่เราจะเลือกใช้สำหรับทีม ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าจะใช้ระบบการเล่นใดที่จะเหมาะสมกับทีมเราที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)                           
1. ทำความรู้จักระบบการเล่น 1 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/03/entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1     
การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ                                         
เมื่อทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเองเพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหน้า – ผู้เล่นตัวกลางหน้ายืนชิดตาข่ายเพื่อเตรียมสกัดกั้นบอลเร็ว ผู้เล่นตัวริมซ้ายและขวายืนห่างตาข่ายเล็กน้อยเพื่อเตรียมสกัดกั้นหรือถอยออกมารับลูกตบ
ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับลูกหยอดหรือลูกตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ตรงกลางห่างจากท้ายสนามประมาณ 1-2 เมตร

รูปแบบที่ 2


ผู้เล่นแดนหน้า – ตำแหน่งการยืนเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1

ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับบอลหยอดหรือบอลเร็ว
การรับลูกเสริฟ

การรับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกของทีม หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการรุกทำคะแนนของทีมจะลดน้อยลงทันที

หลักการของการรับลูกเสริฟ – เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย ซึ่งในสถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้นอยู่กับแผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ 3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)
ตำแหน่งการยืนรับลูกเสริฟจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะการเสริฟของผู้เสริฟว่าเป็นอย่างไร หนัก เบา สั้นหรือยาว (ภาพประกอบ)





ทิศทางการเคลื่อนที่ในการรับลูกเสริฟ – การเคลื่อนที่รับลูกเสริฟ ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งจะเคลื่อนที่ในแนวทแยงมุม 45 องศา




(อ่านเทคนิคการรับลูกเสริฟเพิ่มเติม) 

1. Clip เทคนิคการรับลูกเสริฟแบบต่าง ๆ(1) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/20/entry-1
2. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (2) 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/21/entry-1
3. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (ตอนจบ) 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/22/entry-1

รูปแบบการรับลูกเสริฟ
รูปแบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้
การรับแบบตัวเอ็ม W
การรับแบบตัวเอ็ม M

การรับแบบ Roof
พื้นฐานองค์ประกอบในการเล่นวอลเลย์บอลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญที่เราพบในการแข่งขันเสมอ คือการรุก การรองบอลและการรับ โดยในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการรุกและการรองบอล
การรุก
การรุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
การตบบอลที่เซตมาสูงหรือที่เรามักเรียกกันว่า บอลโค้ง หรือบอลหัวเสา เป็นวิธีการรุกพื้นฐานที่ควรแนะนำสำหรับทีมในระดับเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการตบบอลลักษณะนี้ยังใช้ได้ในทีมทุกระดับ
2. การตบบอลเร็วหัวเสา
บอลลักษณะนี้เรามักเรียกกันว่าบอล Y เป็นบอลที่คล้ายกับบอลโค้งหัวเสาแต่มีความเร็วมากกว่าและเตี้ยกว่าบอลโค้งหัวเสา
3. การตบบอลเร็วแบบต่างๆ
บอลเร็วหน้า (A หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหลัง (
A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หลัง)  กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
(อ่านเพิ่มเติม)
1. กลยุทธ์และเทคนิคของผู้เล่นบอลเร็ว http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/26/entry-1
3. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
4. ความสำคัญของบอลเร็ว 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/02/entry-1
5. แนวคิดของผู้เล่นบอลเร็ว 
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/03/entry-1
เทคนิคการรุก
การโจมตีหรือการรุกด้วยสามารถทำได้ด้วยการตบหรือการหยอด ซึ่งมีเทคนิคหลากหลายเพื่อให้คู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ยาก โดยนักกีฬาสามารถฝึกฝนหรือคิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ จะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
การรุกแบบสลับตำแหน่ง
เป็นเทคนิคการรุกที่เส้นทางการรุกของผู้เล่น 2 คนไขว้กัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะตบบอลเร็ว หรือที่เรียกว่าการรุกแบบผสม Combination attack หรือภาษาวอลเลย์บอลเรียกบอลทับหรือบอลแทรก ลักษณะเส้นทางการรุกของผู้เล่นทั้งสองจะเป็นรูปตัว X
การเปลี่ยนทิศทางการเข้าตบบอล
เป็นเทคนิคการรุกส่วนบุคคลของนักกีฬา โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าตบบอลลักษณะหนึ่งแล้วเปลี่ยนทิศทางไปตบบอลอีกลักษณะหนึ่ง (เรียกง่าย ๆ ว่าการวิ่งหลอก) ตัวอย่างเช่น
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้า แต่ไปตบบอล B หลัง (บอลที่สูงเหนือตาข่ายประมาณ 1-2 เมตร)
หรือกระโดดลักษณะตบบริเวณหน้าตัวเซตแต่ลอยตัวไปตบบอลเร็วหลังตัวเซต
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วห่างหน้าตัวเซต (บอล X) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B หน้า (เรียกว่าบอล XB)
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้าตัวเซต (บอล A) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B โค้ง
อ่านเพิ่มเติม
1. รูปแบบแผนการรุก http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/10/24/entry-1
2. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
การหยอด
การหยอดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องหยอดไปยังตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนในเกมรับของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้รับยากหรือหากรับได้แต่นำบอลนั้นกลับมารุกโต้กลับได้ยาก ซึ่งแต่ละจุดที่หยอดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งรับของคู่ต่อสู้
พื้นที่หยอดเมื่อตั้งรับห่างจากเส้นรุก
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 2 เข้ารองบอลด้านใน
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 4 เข้ารองบอลด้านใน
การรองบอล
การรองบอลในขณะที่ทีมเป็นฝ่ายรุกเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยทำให้ทีมสามารถนำบอลที่ตัวรุกตบไม่ผ่านการสกัดกั้นกลับมาเล่นต่อได้ ตำแหน่งของการรองบอลจะขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
1. ทิศทางของแนวสกัดกั้น
2. มุมของการสกัดกั้น
3. เส้นทางการตบบอล
4. ความเร็วของลูกบอล
สังเกตทิศทางการตบบอลกับแนวสกัดกั้น
การสะท้อนกลับของลูกบอลสังเกตจากมุมของการสกัดกั้น
รูปแบบการรองบอล
รูปแบบการรองบอลมี 2 รูปแบบดังนี้
1. การรองบอลแบบ 3:2
2. การรองบอลแบบ 2:3
การรองบอลแบบ 3:2  
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 3 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 2 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกหัวเสาหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
จากภาพ ผู้เล่นหมายเลข 1 2 3 รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นหมายเลข 4 5 รองบอลในแนวหลัง หลังจากที่ตัวรุกตบบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้ ผู้เล่นทั้งหมดต้องเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
การรองบอลแบบ 2:3 
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 2 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 3 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหลัง
ในการรองบอล ผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทางและจังหวะของการสะท้อนกลับของลูกบอล ระวังรักษาตำแหน่งให้พร้อมรองบอลเสมอ

ประโยชน์ของการเล่นวอลเลย์บอล

๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร
แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่าง
หมู่คณะมากยิ่งขึ้น
๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่นผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะแพ้ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอล
ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย
๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ
จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม
หรือกลางแจ้ง
๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น
๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ
มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วย
๘. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล
ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ
ของร่างกายให้มีความต้านทานได้ดีด้วย
๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้
ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ
์ไมตรีอันดีต่อกัน ทั้งระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดี
๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับสูงบางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานทารับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลังเป็นกีฬาที่นิยมของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่ เป็นประจำ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน
สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์ (เรียบ) และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือติดเพดานอย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ บริเวณรอบสนามต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 12.5 เมตร และสนามต้องเป็นพื้นไม้ หรือพื้นสังเคราะห์อื่น ๆ ได้ แต่ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลบอลนานาชาติ (I.V.B.F)
เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน (Zone lines)
    1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
    2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
    3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึกตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
      แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
      เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
      ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
      เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
      ลูกบอล
      ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม.
      การใช้ลูกบอล 3 ลูก
      การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
      ผู้เล่น
      ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์ 1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้ และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ได้
      เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ เสื้อของผู้เล่นต้องติดหมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุดเหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อระหว่างการแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ในกรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน
      ข้อห้ามของผู้เล่น
      ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน
      หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน
      ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
      มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
      ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น
      หัวหน้าชุด
      ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้องเซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะติดต่อสอบถามขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีมของตน
      ผู้ฝึกสอน
      มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติการการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันในแต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น
      ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
      นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ
      การอบอุ่นร่างกายของชุด
      ก่อนเริ่มแข่งขัน แต่ละชุดสามารถอบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย 3 นาที ถ้ามีสนามอบอุ่นร่างกายแยกต่างหาก แต่ถ้าไม่มีให้อบอุ่นร่างกายได้ชุดละ 5 นาที และหากหัวหน้าชุดทั้งสองประสงค์จะอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันให้ใช้เวลาภายใน 6 – 10 นาที และให้ชุดที่เลือกเสิร์ฟก่อนเป็นชุดที่อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน
      ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด
      ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องส่งใบตำแหน่งเริมเล่นให้ผู้ตัดสินที่ 2 และถือว่าผู้เล่นทั้ง 6 คนในสนามคือผู้ที่เริ่มการเล่น
      ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน
      ผู้ที่ไม่มีชื่อในใบตำแหน่งการเริ่งเล่นในเซตนั้นถือว่าเป็นผู้เล่นสำรองในเซต ผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอนต้องนั่งอยู่ที่ม้านั่งในแดนของตนเอง โดยสามารถอบอุ่นร่างกายแบบไม่ใช้ลูกบอลนอกเขตสนามรอบ ๆ และต้องมานั่งที่เดิมเมื่ออบอุ่นร่างกายแล้ว สามารถให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมได้
      การผิดตำแหน่ง
      ผู้เล่นที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่ผู้เสิร์ฟตีลูกบอลเพื่อเสิร์ฟ จะถือเป็นการผิดตำแหน่ง ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
        1. เมื่อตรวจพบว่าผู้เล่นผิดตำแหน่งให้ลงโทษทีมที่ผิดทันที โดยผู้เล่นต้องหมุนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องทันที และผู้บันทึกต้องตรวจสอบให้แน่ชดว่าข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อยกเลิกคะแนนทั้งหมดของชุดที่ผิดกติกา ส่วนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้
        2. ความผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการเสิร์ฟที่ผิดกติกากับการยืนตำแหน่งผิดกติกา ให้ลงโทษการยืนตำแหน่งผิดเพราะเป็นโทษที่หนักกว่า และเพื่อตรวจพบว่าการหมุนตำแหน่งผิดให้หยุดการเล่นและแก้ไขใหม่ให้ถูกกต้อง
      การหยุดการเล่น
      การหยุดการเล่นที่ถูกต้อง คือ การขอเวลานอก ขอเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาตเมื่อลูกตาย โดยหัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การขอเวลานอกต้องไม่เกิน 30 วินาทีต่อครั้ง แต่ละทีมจะขอได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อหนึ่งเซต และทีมนั้นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก หากผู้ตัดสินให้สัญญาณเล่นต่อแล้วถ่วงเวลาหรือหยุดการเล่น
      การขอเวลานอก
      การขอเวลานอกควรปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้เล่นสำรองต้องพร้อม โดยถือป้ายแจ้งหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่จะถูกเปลี่ยนออก และยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว การแนะนำของผู้ฝึกสอนต้องอยู่นอกเส้นสนาม
      การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด
      เพราะสาเหตุมาจากผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ และสามารถเปลี่ยนตัวได้ แต่ถ้าเปลี่ยนตัวไม่ได้ต้องให้เวลาพัก 3 นาที เพื่อทำการปฐมพยาบาล เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บเล่นต่อไม่ได้ จะถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่นในเซตนั้น
      การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ
      เมื่อใช้เวลานอกครั้งที่ 2 นานเกินเวลาที่กำหนดหลังจากผู้ตัดสินเรียกให้เล่นต่อ แต่ถ่วงเวลาการเปลี่ยนตัวหลังขอเวลานอกไป 2 ครั้ง แล้วไม่พร้อมที่จะลงเล่นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก 2 ครั้งติดต่อกัน ชุดนั้นจะถูกปรับเป็นแพ้ในเซตนั้น
      การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
      แต่ละทีมจะขอเปลี่ยนตัวในเซตหนึ่งได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ซึ่งจะต้องทำโดยเร็ว การเปลี่ยนตัวที่ถูกกต้อง คือ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 หรือที่ 2 ผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนทันที หากเปลี่ยนตัวช้าจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก ขณะเปลี่ยนตัวจะไม่มีการแนะนำผู้เล่น
      การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ
      เพราะผู้เล่นในสนามถูกเชิญออก และถ้าไม่สามารถจะเปลี่ยนตัวได้ ทีมนั้นต้องถกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่น ยกเว้นในกรณีผู้เล่นเกิดบาดเจ็บให้เปลี่ยนตัวได้ในกรณีพิเศษ
      การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ
      เปลี่ยนตัวไม่อยู่ในเขตที่กำหนด หรือไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนตัว และชุดนั้นหมดสิทธิ์ขอเวลานอกแล้ว
      การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน
      ให้พักระหว่างเซตได้ 2 นาที ส่วนการพักระหว่างเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่เส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสรามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
      ผลการแข่งขัน
      ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
      ผู้ชนะในการแข่งขัน
      ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
      การเสิร์ฟ
      เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
      ลำดับการเสิร์ฟ
      ผุเล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
      การเสิร์ฟเสีย
      การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
      การถูกลูกบอล
      แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
      ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า
      ผู้เล่นสามารถถูกลูกบอลในเวลาเดียวกันได้ และไม่ถือว่าเสียคะแนน คือการสกัดกั้น (Block) และลูกบอลกลับเข้าสู่การเล่นอีก ผู้เล่นฝ่ายที่สกัดกั้นสามารถเล่นลูกได้อีก 3 ครั้ง แต่ถ้าลูกที่ผู้เล่นในลักษณะการสกัดกั้นแล้ว ลูกบอลตกออกนอกสนามไป ฝ่ายถูกลูกบอลเป็นฝ่ายทำออก การเล่นที่ทีมนั้นเล่นลูก 4 ครั้ง หรือคนเดียวเล่นลูก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเล่นลูกผิกกติกา
      การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
      ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
      การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
      ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
      การตบลูกบอล
      ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
      การสกัดกั้น
      คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่